คลังคำสำคัญ ‘พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485’

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕[๑]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก มาตรา ๑๓ จัตวา แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ กำหนดให้เจ้าพนักงานต้องแสดงบัตรประจำตัวเมื่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องร้องขอ และบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานต้องเป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงต้องออกกฎกระทรวงนี้เพื่อกำหนดแบบบัตรประจำตัวเจ้าพนักงานขึ้นไว้

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕[๑]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ ตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการ ชลประทานหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ ให้ยกเลิกค่าบำรุงทางน้ำชลประทาน ฉบับเดิมและให้ใช้บัญชีฉบับใหม่แทน จึงเห็นสมควรออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าบำรุงทางน้ำชลประทาน และอัตราค่าธรรมเนียมขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕[๑]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ ตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ ให้วางระเบียบการขอและการอนุญาตเดินเรือยนต์ หรือเรือกลไฟรับจ้างขนส่งคนโดยสารหรือสินค้า หรือรับจ้างลากจูงในทางน้ำชลประทานประเภท ๒ จึงเห็นสมควรออกกฎกระทรวงขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติม

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕[๑]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ ตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการประทานทานหลวง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๐๗ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดเงื่อนไขการใช้เรือ แพ ในทางน้ำชลประทานประเภท ๑ และประเภท ๒ วางระเบียบการขอและการอนุญาตเดินเรือยนต์ หรือเรือกลไฟ ในทางชลประทานประเภท ๑ และกำหนดเครื่องมือและวิธีที่จะใช้ในการจับสัตว์น้ำ ตลอดจนกำหนดเขตหวงห้ามจับสัตว์น้ำในทางน้ำชลประทาน เพื่อป้องกันควา

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๑๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕[๑]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากในขณะประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๐๘) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ เรือที่ใช้เดินรับจ้างขนส่งคนโดยสารหรือสินค้า หรือรับจ้างลากจูงในทางน้ำชลประทานประเภท ๒ ยังใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดแรงม้าไม่สูงนัก อัตราค่าบำรุงทางน้ำที่เรียกเก็บจาก

ผู้ขอรับใบอนุญาตเดินเรือยนต์หรือเรือกลไฟรับจ้างในทางน้ำชลประทานประเภท ๒ ที่กำหนดไว้ในขณะนั้นจึงเป็นการเหมาะสม แต่บัดนี้ผู้ใช้เรือยนต์หรือเรือกลไฟได้นำเอาเรือที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีขนาดแรงม้าสูงมาเดิน ทำให้ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องเสียค่าบำรุงทางน้ำชลประทานประทานสูงขึ้นตามขนาดแรงม้าที่เพิ่มขึ้น ฉะนั้นเพื่อมิให้เป็นภาระหนักแก่ผู้ต้องเสียค่าบำรุงทางน้ำชลประทานประเภทนี้จนเกินไปจึงเห็นสมควรลดอัตราค่าบำรุงทางน้ำชลประทานที่เรียกเก็บจากผู้ขอรับใบอนุญาตเดินเรือยนต์หรือเรือกลไฟรับจ้างขนส่งคนโดยสารหรือสินค้า หรือรับจ้างลากจูงในทางน้ำชลประทานประเภท ๒ ลงกึ่งหนึ่ง

กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕[๑]

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช ๒๔๘๕ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชการชลประทานหลวง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๘ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าชลประทานที่จะเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำจากทางน้ำชลประทานเพื่อกิจการโรงงานการประปาหรือกิจการอื่นในหรือนอกเขตชลประทาน

เพื่อกิจการโรงงานการประปาหรือกิจการอื่นในหรือนอกเขตชลประทาน กับให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบ และวิธีการในการจัดเก็บหรือชำระค่าชลประทานตลอดจนการยกเว้น ลดหย่อนหรือวิธีการผ่อนชำระค่าชลประทาน สมควรกำหนดอัตราค่าชลประทาน กำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบ และวิธีการในการจัดเก็บหรือชำระค่าชลประทาน ตลอดจนการยกเว้นค่าชลประทาน เพื่อการดังกล่าวขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง